1. คำกล่าวที่ว่า พระพุทธศาสนา เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน
มีความหมายอย่างไร
1) พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์นับถือพระพุทธศาสนา
2) คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา
3) ชีวิตคนไทยผูกพันกับพระพุทธศาสนาตั้งแต่เกิดจนตาย
4) ถูกหมดทั้ง 3 ข้อ
2. พระพุทธศาสนากำเนิดขึ้นในประเทศใด
1) อินโดนีเซีย 2) อินเดีย
3) เวียดนาม 4) ไทย
3. เจ้าชายสิทธัตถะ สัมพันธ์กับข้อใด ในฐานะผู้ให้กำเนิด
1) พระเจ้าสุทโธทนะ - พระนางสิริมหามายา
2) พระเจ้าพิมพิสาร - พระนางโกศลเทวี
3) พระเจ้าอโศกมหาราช - พระนางหัตถา
4) พระเจ้ารามา - พระนางปิยา
4. มูลเหตุในข้อใดที่ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะ ตัดสินพระทัยออกผนวช
1) รู้คำทำนายของพราหมณ์ 108 คน
2) เบื่อหน่วยชีวิตในพระราชวัง
3) ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต 4
4) ปรารถนาที่จะหาทางช่วยให้มวลมนุษย์ทุกคนพ้นทุกข์
5. หลังจากออกผนวชแล้วทรงศึกษาหาทางพ้นทุกข์อย่างไรจึงจะสำเร็จ
1) บำเพ็ญเพียรทางจิตแน่วแน่จนรู้แจ้ง
2) ศึกษาอยู่ในสำนักของดาบส
3) บำเพ็ญทุกรกิริยา (ทรมานร่างกาย)
4) ศึกษาจากอาจารย์สำนักต่างๆ
6. ธรรมอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้คือข้อใด
1) อกุศลมูล 2) อริยสัจ 4
3) อริยมรรค 4) อิทธิบาท 4
7. ความสำคัญของงานทุกชนิดคือผลของหลักธรรมในข้อใด
1) ความพอใจ 2) ความอดทน
3) ความสามัคคี 4) ความเกรงกลัว
8. ข้อใดคือความหมายของ ปญฺา โลกสฺมิ ปชฺโชโต
1) ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์
2) คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
3) ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
4) บัณฑิตย่อมฝึกตน
9. ทุกศาสนามีคัมภีร์หรือตำราทางศาสนาเป็นหลักในการสั่งสอน คัมภีร์ทาง
พระพุทธศาสนาเรียกว่า
1) อัลกุรอาน 2) ไบเบิล
3) พระไตรปิฎก 4) พระอภิธรรม
10. ในเรื่องน่ารู้จักพระไตรปิฎกกล่าวถึงบุคคลที่เปรียบเหมือนอสรพิษร้าย 4 ตัว
ซึ่งสรุปได้ว่าเป็นเรื่องของอะไร
1) ความโกรธเป็นงูพิษที่ทำร้ายตนเองและผู้อื่น
2) ความโกรธเป็นตะขาบที่ทำร้ายตนเองและผู้อื่น
3) ความโกรธเป็นแมงป่องที่ทำร้ายตนเองและผู้อื่น
4) ความโกรธเป็นจระเข้ที่ทำร้ายตนเองและผู้อื่น
11. พระโสณโกฬิวิสะเป็นพุทธสาวกที่พระพุทธเจ้าทรงสอนโดยใช้หลักธรรมใดสอน
จนบรรลุเป็นพระอรหันต์
1) ความเพียร 2) ความพอดี
3) ความยินดี 4) ความเข้มแข็ง
12. ชาดกเรื่องจูฬเสฎฐิ (จุลกเศรษฐีชาดก) เป็นตัวอย่างที่ดีของการนำหลักธรรมใน
ข้อใดมาใช้
1) ผู้ขยันหมั่นเพียรจะร่ำรวย
2) ผู้มีความเพียรจะมีความสุข
3) ผู้มีปัญญาย่อมชนะอุปสรรค
4) ผู้มีปัญญาย่อมหาทรัพย์ได้ง่าย
13. เจ้าชายสิทธัตถะทรงอุทานว่า ราหุลํ ชาตํ เมื่อพระโอรสประสูติมีความหมาย
ตรงกับข้อใด
1) ทุกข์เกิดแล้ว 2) บ่วงเกิดแล้ว
3) ความสุขเกิดแล้ว 4) ดีใจจังที่เป็นพระโอรส
14. เจ้าชายสิทธัตถะทรงใช้เวลาในการบำเพ็ญเพียรเป็นเวลานานเท่าใดจึงตรัสรู้
1) 4 ปี 2) 5 ปี
3) 6 ปี 4) 10 ปี
15. หลังตรัสรู้แล้วทรงเสด็จประกาศธรรมแก่ใคร
1) พระราชบิดา 2) โปรดชฎิล
3) พระเจ้าพิมพิสาร 4) ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5
16. เหตุผลในข้อใดที่บ่งบอกความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อวิถีชีวิตของคนไทย
1) กิจกรรมตั้งแต่เกิดจนตายล้วนเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
2) วัดเป็นศูนย์กลางการศึกษาของสังคมไทย
3) วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทย
4) วัดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ
17. หลักฐานใดที่ยืนยันว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย
1) กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
2) มีวัดอยู่มากมายในประเทศไทย
3) คนไทยกว่าร้อยละ 90 เป็นพุทธศาสนิกชน
4) วันหยุดราชการล้วนเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
18. หลักธรรมใดที่พระมหากษัตริย์ไทยใช้เป็นหลักในการปกครอง
1) รัฐธรรมนูญ 2) พระราชบัญญัติ
3) พระราชกฤษฎีกา 4) ทศพิธราชธรรม
19. พราหมณ์หนุ่มที่ทำนายพระกุมารสิทธัตถะว่าจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก
เพียงอย่างเดียว คือใคร
1) อสิตดาบส 2) โกณฑัญญะพราหมณ์
3) วิศวามิตร 4) อาฬารดาบส กาลามโคตร
20. พระเจ้าสุทโธทนะทรงมีพระประสงค์ให้เจ้าชายสิทธัตถะครองราชสมบัติ
มากกว่าออกผนวชทรงทำอย่างไร
1) สร้างปราสาท 3 หลัง เพื่อให้ประทับในแต่ฤดู
2) ให้อภิเษกสมรสกับพระนางพิมพา
3) ให้เพลิดเพลินกับเหล่าสนมนางกำนัลเล่นระบำรำฟ้อน
4) ถูกทุกข้อ
21. ข้อใดมีความหมายว่าเสรีภาพ
1) ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามสิทธิที่มีอยู่โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
2) ทุกคนจะทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ
3) เราจะเปิดวิทยุโทรทัศน์เสียงดังเท่าไรก็ได้
4) เราจะขับรถยนต์โดยไม่มีใบขับขี่ก็ได้
22. ดำโกรธที่แม่ไม่ให้สตางค์ไปเล่นเกมจึงด่าแม่ด้วยคำหยาบคาย ดำทำผิดในข้อใด
1) บรรทัดฐาน 2) วิถีชาวบ้าน
3) จารีต 4) กฎหมาย
23. การปฏิบัติที่มีศีลธรรมไปเกี่ยวข้องคือข้อใด
1) จารีต 2) วิถีชาวบ้าน
3) บรรทัดฐาน 4) กฎหมาย
24. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
1) บรรทัดฐาน คือกฎหมาย
2) จารีต คือประเพณี
3) กฎหมาย คือบทบัญญัติที่ใช้บริหารบ้านเมือง
4) วิถีชาวบ้าน คือความเชื่อทางศาสนา
25. การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่สัมพันธ์กับข้อใด
1) วิถีชาวบ้าน 2) บรรทัดฐาน
3) กฎหมาย 4) วัฒนธรรม
26. สุรีย์พรนุ่งผ้าซิ่นตีนจกงดงาม เป็นที่ชื่นชอบของผู้พบเห็น เขาแต่งกายตาม
วัฒนธรรมภาคใด
1) ภาคใต้ 2) ภาคเหนือ
3) ภาคกลาง 4) ภาคอีสาน
27. การปฏิบัติตนโดยยึดหลักการของประชาธิปไตยได้แก่ข้อใด
1) คารวธรรม 2) สามัคคี
3) ปัญญาธรรม 4) ถูกทุกข้อ
28. หลักการของประชาธิปไตยในข้อที่ 1 เป็นหลักธรรมคำสอนของศาสนาใด
1) ศาสนาคริสต์ 2) ศาสนาพุทธ
3) ศาสนาอิสลาม 4) ทุกศาสนา
29. ธีระขับรถยนต์มานานถึง 20 ปี แต่ไม่เคยประสบอุบัติเหตุหรือถูกตำรวจว่ากล่าว ตักเตือน แสดงว่าเขาปฏิบัติตนตามหลักประชาธิปไตยข้อใด
1) เคารพกฎหมายจราจร 2) ระมัดระวังตัวตลอดเวลา
3) แก้ไขปรับปรุงการขับรถ 4) ตั้งสติก่อนขับรถ
30. ข้อใดเป็นลักษณะของครอบครัวประชาธิปไตยที่แท้จริง
1) รับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน 2) ไม่ละเมิดสิทธิของคนในครอบครัว
3) รับผิดชอบหน้าที่ของตน 4) ทุกข้อถูกต้อง
31. สถานภาพของศักดิ์คือเป็นคนไทย เป็นสถานภาพประเภทใด
1) สถานภาพที่เป็นตำแหน่งของบุคคลในสังคม
2) สถานภาพที่ได้มาโดยกำเนิด
3) สถานภาพที่ได้มาด้วยความสามารถ
4) สถานภาพที่ได้มาโดยบทบาทหน้าที่
32. ข้อใดเป็นเครื่องมือขัดเกลาทางสังคม
1) สถานภาพ 2) เสรีภาพ
3) ค่านิยม 4) ความรับผิดชอบ
33. กฎหมายกับชีวิตประจำวันสัมพันธ์กับข้อใด
1) ทำบัตรประจำตัวประชาชนเมื่ออายุครบ 15 ปี
2) เข้าเรียนหนังสือตามที่กฎหมายกำหนด
3) ปฏิบัติตามกฎจราจร
4) ถูกทุกข้อ
34. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติมีลักษณะใดบ้าง
1) เด็กอายุ 9 ปี เข้าเรียนในโรงเรียน
2) ต้องเรียนในโรงเรียน 15 ปี
3) เป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
4) มุ่งเน้นการศึกษานอกระบบ
35. ถ้านักเรียนมีความจำเป็นในการขี่รถจักรยานไปโรงเรียน ควรปฏิบัติอย่างไร
1) ปฏิบัติตามกฎจราจรทั่วไป
2) ศึกษาและปฏิบัติตามกฎจราจรทางบก
3) ควรเกาะหรือพ่วงรถอื่นที่กำลังแล่นอยู่
4) ขับขี่บนท้องถนนเหมือนรถยนต์ทั่วๆ ไป
36. ข้อใดปฏิบัติตามกฎหมายจราจรของคนเดินเท้า
1) ข้ามถนนตรงทางม้าลาย 2) ข้ามถนนขณะที่สัญญาณไฟเขียว
3) วิ่งข้ามถนนช่วงที่รถว่าง 4) วิ่งข้ามถนนขณะสัญญาณไฟสีเหลือง
37. ทุกข้อเป็นชื่อสัตว์ป่าสงวน ยกเว้นข้อใด
1) แรด 2) กระซู่
3) นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร 4) เสือ
38. ในหมวดที่ 3 รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ในเรื่องใด
1) บททั่วไป 2) สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
3) หน้าที่ของประชาชนชาวไทย 4) การปกครองส่วนท้องถิ่น
39. สิทธิในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานจากสถานบริการของรัฐโดย
ไม่เสียค่าใช้จ่าย สิทธินี้ใครเป็นผู้ได้รับ
1) ประชาชนทุกคน 2) ผู้มีฐานะปานกลาง
3) ผู้มีฐานะยากไร้ 4) เด็กและเยาวชน
40. ข้อใดเป็นหน้าที่ของประชาชนชาวไทยที่ระบุไว้เฉพาะเกี่ยวกับการศึกษา
1) หน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
2) หน้าที่รับการศึกษาอบรมตามกฎหมาย
3) หน้าที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4) หน้าที่ปกป้องและสืบสานศิลปะวัฒนธรรมของชาติ
41. เรื่องเกี่ยวกับมนุษย์ เป็นการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาผลิตสินค้าและบริการ
เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ เป็นคำอธิบายในวิชาใด
1) ประวัติศาสตร์ 2) ภูมิศาสตร์
3) เศรษฐศาสตร์ 4) พระพุทธศาสนา
42. เพราะเหตุใดเราจึงต้องเรียนรู้วิชาเศรษฐศาสตร์
1) เพราะเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเรา
2) เพราะต้องการอนุรักษ์ทรัพยากร
3) เพราะสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองดี
4) เพราะเป็นกฎหมายเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน
43. ในชีวิตประจำวันนักเรียนต้องบริโภคสินค้าและบริการอะไรบ้างที่เรียกว่าปัจจัย 4
1) แปรงสีฟัน ยาสีฟัน
2) จาน ชาม ช้อนส้อม
3) อาหารแห้ง เช่น ขนมกรอบต่างๆ
5) อาหาร เสื้อผ้า บ้าน และยารักษาโรค
44. เมื่อมนุษย์จำเป็นต้องบริโภคปัจจัย 4 แต่ทุกคนไม่สามารถทำเองได้ จึงเป็นมูลเหตุ ที่ทำให้มีการทำสิ่งใด
1) การบริโภค 2) การผลิต
3) การต้องการความสะดวก 4) การขายสินค้า
45. ข้อใดเป็นความหมายของการผลิต
1) การแปรสภาพทรัพยากรให้เปลี่ยนเป็นสินค้าและบริการ
2) วิธีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
3) การโฆษณา
4) การประกอบการ
46. ข้อใดเป็นตัวอย่างของการผลิต
1) พิมพ์ซื้อแปรงสีฟัน 2) พลอยใช้สบู่เหลวจากขมิ้นชัน
3) แพรวชอบใช้โทรศัพท์มือถือ 4) เพชรถักกระเป๋าโดยใช้ผักตบชวา
47. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยในการผลิต
1) ทรัพยากรธรรมชาติ 2) ทุน
3) แรงงาน 4) การบริโภค
48. ใครเป็นผู้บริโภคที่ดี
1) แพรคำนึงถึงความจำเป็นในการซื้อสินค้า
2) ปองอยากได้รองเท้ารุ่นใหม่ราคาแพง
3) อ้อมซื้อโทรศัพท์มือถือใหม่ทั้งที่มีอยู่แล้ว
4) อุ๋มซื้อเสื้อผ้าชุดใหม่ตามแฟชั่นล่าสุด
49. ข้อใดจัดว่าเป็นแรงงาน
1) การบริหารจัดการ 2) แรงสมองในการประดิษฐ์คิดค้น
3) การดำเนินการผลิต 4) การลงทุน
50. ข้อใดเป็นแรงจูงใจในการใช้ทรัพยากรมากที่สุด
1) การผลิตสินค้าจำนวนมาก
2) การผลิตสินค้าส่งออกไปขายต่างประเทศ
3) การเพิ่มของประชากรอย่างรวดเร็ว
4) การใช้แรงงานราคาถูก
51. การใช้เทคโนโลยีด้านเกษตรกรรมเกิดประโยชน์อย่างไร
1) ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 2) ต้นทุนในการผลิตลดลง
3) ประหยัดทรัพยากร 4) ถูกทุกข้อ
52. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมใครเกี่ยวข้องน้อยที่สุด
1) ผู้บริโภค 2) ผู้ผลิต
3) รัฐบาล 4) เอกชน
53. ซื้อและใช้จากของที่ผลิตได้ในท้องถิ่น ไม่ก่อหนี้ มีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย เป็นลักษณะของข้อใด
1) การพัฒนาระบบเศรษฐกิจ 2) การเกษตรเพื่อชีวิต
3) เศรษฐกิจพอเพียง 4) หลักของการจัดการ
54. ทางสายกลางที่อยู่บนพื้นฐานของความพอดี รู้จักพอประมาณ รู้ทันโลก
มีความสัมพันธ์กับข้อความในข้อใด
1) ทางสายกลาง 2) เศรษฐกิจพอเพียง
3) การพัฒนาเศรษฐกิจ 4) ใช้ความสามารถในตัวให้เต็มที่
55. ข้อใดคือเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเกษตรกรที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชทานแก่เกษตรกร
1) การเกษตรทฤษฎีใหม่ 2) การสหกรณ์
3) การผลิต 4) ระบบเศรษฐกิจ
56. โดยสรุปหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงข้อใดชัดเจนที่สุด
1) การไม่ลงทุนเกินขนาด 2) การพึ่งตนเองเป็นหลัก
3) การรวมตัวกัน 4) การใช้ศักยภาพ
57. ข้อใดเป็นการนำวิธีการเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
1) พึ่งตนเอง 2) ขยัน อดทน ไม่ท้อถอย
3) มีความสามารถในการบริหารจัดการ รู้จักคิด รู้จักระบบ 4) ถูกทุกข้อ
58. การบริหารจัดการทรัพยากรคือข้อใด
1) การบริหารจัดการที่ดีถูกต้อง 2) การดำเนินการวางแผนงาน
3) การวิเคราะห์การดำเนินการ 4) ระบบเศรษฐกิจ
59. ข้อใดเป็นแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากร
1) ใช้ระบบและวิธีการแบบเศรษฐกิจพอเพียง
2) ใช้ระบบสหกรณ์
3) ใช้ระบบพัฒนาเศรษฐกิจ
4) ใช้ระบบธนาคาร
60. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเกี่ยวข้องกันกับด้านใด
1) ด้านการพึ่งพา 2) ด้านการแข่งขัน
3) ด้านการประสานประโยชน์ 4) ถูกทุกข้อ
61. เหตุการณ์ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบกับปัญหาเศรษฐกิจ
สังคม และการเมืองมากมาย คำว่าทศวรรษ หมายถึงข้อใด
1) ช่วงเวลาในรอบ 1 ปี 2) ช่วงเวลาในรอบ 5 ปี
3) ช่วงเวลาในรอบ 10 ปี 4) ช่วงเวลาในรอบ 100 ปี
62. ปัจจุบันเราอยู่ในศตวรรษที่เท่าไรและช่วงเวลาใด
1) พุทธศตวรรษที่ 21 ช่วงเวลา พ.ศ. 2001 - พ.ศ. 2100
2) พุทธศตวรรษที่ 26 ช่วงเวลา พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2600
3) คริสต์ศตวรรษที่ 19 ช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. 1801 - ค.ศ. 1900
4) คริสต์ศตวรรษที่ 20 ช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. 1901 - ค.ศ. 2000
63. ในปี พ.ศ. 2544 หรือ ค.ศ. 1999 ถึง ค.ศ. 2000 มีความสำคัญอย่างไร
1) ช่วงเปลี่ยนทศวรรษใหม่ 2) ช่วงเปลี่ยนศตวรรษใหม่
3) ช่วงเปลี่ยนสหัสวรรษใหม่ 4) ช่วงเปลี่ยนคริสต์ศักราชใหม่
64. ปี 2548 โลกอยู่ในสหัสวรรษใด และเป็นปีที่เท่าไร
1) ปีที่ 3 สหัสวรรษที่ 1 2) ปีที่ 4 สหัสวรรษที่ 2
3) ปีที่ 5 สหัสวรรษที่ 3 4) ปีที่ 6 สหัสวรรษที่ 3
65. ชิตชัยสนใจศึกษาเรื่องราวของปราสาทหินพนมรุ้งให้ถูกต้องชัดเจน เชิตชัยต้อง
ศึกษาโดยใช้วิธีการใด
1) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 2) วิธีการทางภูมิศาสตร์
3) วิธีการทางศิลปศาสตร์ 4) วิธีการทางประวัติศาสตร์
66. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี จัดเป็นหลักฐาน
ประเภทใด
1) หลักฐานชั้นต้น2) 2) หลักฐานชั้นสอง
3) หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร 4) แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวกับภูมิภาค
67. หัตถกรรมพื้นบ้าน เป็นผลผลิตที่เกิดจากอะไร
1) การประดิษฐ์เศษวัสดุ 2) ภูมิปัญญาของคนไทย
3) ทักษะการสร้างสรรค์ของคนไทย 4) เอกลักษณ์ของคนไทย
68. วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนในทุกๆ ภูมิภาค เกิดจากอะไร
1) ปัจจัยทางภูมิประเทศ 2) การนับถือศาสนาความเชื่อ
3) การประกอบอาชีพ 4) ถูกทุกข้อ
69. สมมติเทพเป็นฐานะของพระมหากษัตริย์ที่เปรียบได้กับข้อใด
1) เทวดา 2) เทพบุตร
3) เทพเจ้า 4) เทพยดา
70. อยุธยาในช่วงรัชสมัยใดที่เจริญรุ่งเรืองและมั่นคงเป็นปึกแผ่น
1) รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) - สมเด็จพระบรมราชาธิราช
2) รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ - สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
3) รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม - สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
4) รัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา - สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
71. สังคมในสมัยอยุธยาบุคคลกลุ่มใดได้รับการยกย่องศรัทธาจากทุกชนชั้น
1) พระมหากษัตริย์ 2) พระราชวงศ์
3) พระมหาอุปราช 4) พระสงฆ์
72. เหตุผลในข้อใดที่ทำให้ต้องเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
1) การว่างจากศึกสงครามเป็นเวลานานขาดการเตรียมตัว
2) เกิดความแตกแยกกันเองในหมู่ผู้นำ
3) การขาดความสามัคคีของคนในชาติ
4) ถูกทุกข้อ
73. การศึกษาประวัติศาสตร์มีความเกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด
1) ข้อมูล 2) เวลา
3) หลักฐาน 4) รูปภาพ
74. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
1) แบบจันทรคติ หมายถึงการนับข้างขึ้น ข้างแรม
2) แบบสุริยคติ หมายถึง การยึดการโคจรของโลกรอบดวงจันทร์
3) พ.ศ. หมายถึง พุทธศตวรรษ
4) ปัจจุบันเป็นสหัสวรรษที่ 1
75. เหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นการบอกเวลารูปแบบใด
1) แบบจันทรคติ 2) แบบสุริยคติ
3) บอกเป็นทศวรรษ 4) บอกตามลำดับเหตุการณ์
76. กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมานานกว่า 4 ศตวรรษ จึงเสียกรุงครั้งที่ 2 ใน
พ.ศ. 2310 คืออะไร
1) คำบอกเล่าเรื่องราว 2) คำอธิบายเรื่องราว
3) การใช้คำบอกช่วงเวลา 4) ความต่อเนื่องของประวัติศาสตร์
77. จารึกถือเป็นเอกสารประเภทใด
1) เอกสารชั้นต้น 2) เอกสารชั้นรอง
3) เอกสารนำเสนอข้อมูล 4) เอกสารจัดระบบข้อมูล
78. ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานและการดำรงชีวิต คือข้อใด
1) ปัจจัยการประกอบอาชีพ 2) ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
3) ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม 4) ข้อ 2) และ ข้อ 3) ถูก
79. ภาคกลางมีความสำคัญอย่างไรในอดีต
1) เป็นแหล่งอาหาร 2) ผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น
3) เป็นที่ตั้งของเมืองหลวง 3 สมัย (อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์) 4) ถูกทั้ง 3ข้อ
80. การลงแขก การแห่นางแมว ประเพณีลอยกระทง การแข่งเรือ เป็นผลจากข้อใด
1) ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ 2) ปัจจัยทางประวัติศาสตร์
3) ผลต่อการดำรงชีวิตและวัฒนธรรม 4) ประเพณีการละเล่นของไทย
81. การศึกษาลักษณะภูมิประเทศทำให้เรารู้จักลักษณะของสิ่งใด
1) ภูมิอากาศ 2) เปลือกโลก
3) พืชพันธุ์ 4) แหล่งน้ำ
82. ภูมิอุทกเป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องใด
1) ลักษณะสภาพของอากาศ 2) ลักษณะสภาพของพืชพรรณ
3) ลักษณะแหล่งน้ำ 4) ลักษณะดิน
83. การชลประทานมีความสำคัญอย่างไร
1) จัดหาน้ำเพื่อการเกษตร 2) ช่วยระบายน้ำเมื่อมีน้ำเกินความจำเป็น
3) การผลิตน้ำประปา 4) ข้อ 1) และ ข้อ 2) ถูก
84. ชุมชนเมืองแตกต่างจากชุมชนชนบทอย่างไร
1) จำนวนคนในเมืองมีมากกว่าในชนบท
2) จำนวนคนในชนบทมีมากกว่าในเมือง
3) คนในเมืองมีฐานะความเป็นอยู่ค่อนข้างยากจน
4) คนในชนบทมีฐานะความเป็นอยู่ดีกว่าในเมือง
85. สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติมีอิทธิพลต่อมนุษย์ในข้อใด
1) สภาพทางสังคม 2) กิจกรรมและพฤติกรรมของมนุษย์
3) สภาพทางเศรษฐกิจ 4) สภาพทางวัฒนธรรมประเพณี
86. เพราะเหตุใดประเทศไทยจึงมีภูมิอากาศร้อน
1) มีภูเขามาก 2) ใกล้ดวงอาทิตย์
3) อยู่ห่างไกลจากทะเล 4) อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร
87. ทรัพยากรดินในภาคใดเหมาะสมกับการเพาะปลูก
1) ภาคเหนือ 2) ภาคกลาง
3) ภาคใต้ 4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
88. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
1) ป่าไม้ในประเทศไทยกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค
2) ป่าไม้มีเฉพาะในภาคเหนือ
3) ป่าไม้มีมากในภาคตะวันตก
4) ป่าไม้มีมากในภาคใต้
89. ข้อใดหมายถึงน้ำในบรรยากาศ
1) น้ำที่อยู่ในอากาศ เช่น หมอก ควัน
2) น้ำที่อยู่เหนือผิวดิน เช่น น้ำฝน น้ำค้าง
3) น้ำที่อยู่เหนือผิวดิน เช่น น้ำคลอง น้ำในแม่น้ำ ลำธาร
4) น้ำที่อยู่เหนือผิวดิน เช่น น้ำบ่อ สระ บึง หนอง
90. แร่ธาตุแบ่งได้ 2 ประเภทคือแร่โลหะ และแร่อโลหะ ข้อใดเป็นแร่โลหะ
1) ทองแดง ทองคำ ดีบุก เหล็ก ตะกั่ว สังกะสี
2) หินปูน หินดินดาน ยิปซัม ดินขาว
3) ปิโตรเลียม ลิกไนต์ ก๊าซธรรมชาติ
4) หินแกรนิต อัญมณี แร่แบไรต์
91. ข้อใดเป็นสาเหตุของความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1) การกระทำของภูมิประเทศ
2) การกระทำของภูมิอากาศ
3) การกระทำของมนุษย์ การกระทำทางธรรมชาติ
4) การกระทำของฝน ลม พายุ
92. การเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ เกิดจากการกระทำในข้อใด
1) การกระทำทางธรรมชาติ
2) การกระทำของมนุษย์
3) ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
4) การกระทำของภูมิอากาศ
93. น้ำเสีย อากาศเป็นพิษ ป่าไม้ถูกทำลาย ดินเสื่อม การสูญพันธุ์ของสัตว์และสิ่งมีชีวิตคือข้อใด
1) สภาพความเสื่อมโทรมของมนุษย์ 2) สภาพความเสื่อมโทรมของภูมิประเทศ
3) สภาพความเสื่อมโทรมของโลก
4) สภาพความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
94. วิธีใดที่จะฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีสภาพที่เอื้อ
ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
1) ใช้อย่างประหยัด 2) นำกลับมาใช้อีก
3) การพัฒนาคุณภาพประชากร 4) ความร่วมมือจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและประชาชน
95. ข้อใดเป็นองค์ประกอบของแผนที่
1) ลูกโลก 2) รูปถ่ายทางอากาศ
3) ภาพจากดาวเทียม 4) สัญลักษณ์แผนที่
96. เส้นเมริเดียนคืออะไร
1) เส้นที่ลากรอบลูกโลก
2) เส้นที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้
3) เส้นบอกระยะทางบนแผนที่
4) เส้นที่ย่อระยะทางจริงบนผิวโลก
97. ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทยเป็นอย่างไร
1) มีความแตกต่างกันทั้งด้านภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และทรัพยากร
2) มีความคล้ายคลึงกันทุกด้าน
3) มีความเหมือนกันในด้านภูมิประเทศ
4) มีความต่างกันเฉพาะทรัพยากร
98. ข้อใดอธิบายความหมายของแผนที่ได้ถูกต้องชัดเจน
1) สิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลก
2) อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินกิจกรรมของมนุษย์
3) สัญลักษณ์ของเส้นทางในการเดินทาง
4) สิ่งที่ใช้สำรวจข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์
99. การแสดงลักษณะภูมิประเทศ ภูเขา ที่ราบ แม่น้ำ คือแผนที่ชนิดใด
1) แผนที่เศรษฐกิจ 2) แผนที่ภูมิประเทศ
3) แผนที่รัฐกิจ 4) แผนที่เฉพาะเรื่อง
100. ทิศที่นิยมใช้ในการแสดงในแผนที่คือทิศใด
1) ทิศเหนือ 2) ทิศใต้
3) ทิศตะวันออก 4) ทิศตะวันตก
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น