1. การจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาโดยปกติใช้เวลาเรียนกี่ปี ก. 4 ปี .ข. 6 ปี.ค. 9 ปี.ง. 12 ปี |
2. บุคคลใดต่อไปนี้ มิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ ก. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา.ข. ปลัดอำเภอในกรณีที่ท้องที่นั้นมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการศึกษา.ค. ผู้บริหารสถานศึกษา.ง. กำนันผู้ใหญ่บ้าน |
3. ข้อใดให้ความหมายไม่ตรงกับ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ก. การศึกษาขั้นพื้นฐาน คือการศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา.ข. .ค. สถานศึกษา คือสถานที่จัดการสอนตั้งแต่ก่อนประถม ถึงระดับก่อนอุดมศึกษา.ง. มาตรฐานการศึกษา เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์ และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดในสถานศึกษาทุกแห่ง |
4. ผู้ที่ไม่ใช่ผู้ปกครองที่มีเด็กอายุในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับอาศัยอยู่ด้วย ต้องแจ้งต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภายในกี่วัน นับจากวันที่มีเด็กอาศัยอยู่ด้วย ก. 15 วัน.ข. 30 วัน.ค. 45 วัน.ง. 60 วัน |
5. ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ไม่ได้กำหนดสิทธิในการรับการศึกษาสำหรับคนพิการในเรื่องใด ก. สิ่งอำนวยความสะดวก.ข. สื่อ บริการ.ค. ความช่วยเหลืออื่นใด.ง. เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐาน |
6. ต่อไปนี้ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ก. ผู้แทนครู.ข. ผู้แทนองค์กรเอกชน.ค. ผู้แทนศิษย์เก่า.ง. ผู้แทนคุณวุฒิ |
7. ข้อใดไม่ถูกต้องในด้านการกระจายอำนาจให้เขตพื้นที่และสถานศึกษา ก. ด้านวิชาการ.ข. งบประมาณ.ค. หลักสูตรการสอน.ง. การบริหารทั่วไป |
8. ตำแหน่งข้าราชการครูตามข้อใดที่สังกัดต่างหน่วยงาน ก. ครู.ข. คณาจารย์.ค. ผู้บริหารสถานศึกษา.ง. ผู้บริหารการศึกษา |
9. พรบ.การศึกษาแห่งชาติ เป็นไปตามบทบัญญัติใน รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 มาตราใด ก. 29.ข. 40.ค. 50.ง. 81 |
10. การจัดการศึกษาเพื่อวางรากฐานชีวิตและการเตรียมความพร้อมของเด็กทั้งร่างกายและจิตใจสติปัญญาอารมณ์ บุคลิกภาพและการอยู่ร่วมกันในสังคม ก. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา.ข. การศึกษาระดับประถมศึกษา.ค. การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น.ง. การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย |
11. ข้อใดไม่สอดคล้องกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามความมุ่งหมายของ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ก. ปลูกฝังจิตสำนึกการเมือง การปกครองระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข.ข. รักษา และส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพเคารพกฎหมาย.ค. รู้จักรักษาผลประโยชน์ ส่วนรวมของประเทศชาติ.ง. กระจายการพัฒนาไปสู่ชนบทโดยการมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่น |
12. พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับแรก มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อใด ก. 19 สิงหาคม 2542.ข. 20 สิงหาคม 2542.ค. 19 ธันวาคม 2545.ง. 20 ธันวาคม 2545 |
13. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ไม่ได้กำหนดให้หน่วยงานใดมีสิทธิจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก. หน่วยงานหรือสถานศึกษาของรัฐและเอกชน.ข. มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน.ค. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.ง. องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา และสถานประกอบการ |
14. คำว่า "เอกภาพด้านนโยบาย หลากหลายในการปฏิบัติ" สอดคล้องกับข้อใด ก. ส่วนกลางกำหนดนโยบาย ส่วนภูมิภาคกำหนดแนวทางปฏิบัติ.ข. กระทรวงกำหนดนโยบายมาตรฐานสนับสนุนเขตพื้นที่และสถานศึกษาบริหารจัดการด้วยตนเอง.ค. มีนโยบายเดียวกัน การปฏิบัติหลากหลายวิธี.ง. ถูกทุกข้อ |
15. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบประกันคุณภาพภายในได้แก่ ก. สถานศึกษาเท่านั้น.ข. สถานศึกษาและเขตพื้นที่.ค. สถานศึกษา เขตพื้นที่ คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.ง. สถานศึกษา เขตพื้นที่ คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
16. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิ์จัดการศึกษาระดับใด ก. การศึกษาขั้นพื้นฐาน.ข. การศึกษาอุดมศึกษา.ค. การศึกษานอกโรงเรียน.ง. ทุกระดับ |
17. การจัดการศึกษาเพื่อมุ่งวางรากฐานเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐานหมายถึงการจัดการศึกษาระดับใด ก. ระดับก่อนประถมศึกษา.ข. ระดับประถมศึกษา.ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น.ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย |
18. จุดที่ต่างกันของการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่สำคัญคือข้อใด ก. ระยะเวลาที่จัดการศึกษา.ข. สถานที่จัดการศึกษา.ค. ตัวผู้เข้ารับการศึกษา.ง. จุดหมาย วิธีการ หลักสูตร |
19. เด็กจบการศึกษาภาคบังคับในสถานศึกษาสังกัดสพท. หมายถึงเด็กจบชั้นใด ก. ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.ข. ชั้นประถมศึกษาปีที่ 9.ค. ชั้นปีที่ 9.ง. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 |
20. ใครมีอำนาจอนุญาตผ่อนผันเด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ก. ผู้อำนวยการสถานศึกษา.ข. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา.ค. ผู้อำนวยการกองการศึกษาเทศบาล.ง. ถูกทุกข้อ |
21. รัฐต้องให้ความช่วยเหลือเป็นกี่เท่าของเงินทุนด้านสื่อและวัสดุการศึกษาที่จัดสรรให้แก่เด็กนักเรียนทั่วไปต่อคน ก. ไม่เกิน 2 เท่า.ข. ไม่เกิน 3 เท่า.ค. ไม่เกิน 4 เท่า.ง. ไม่เกิน 5 เท่า |
22. การจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักอะไรบ้าง ก. มีเอกภาพด้านนโยบายหลากหลายในการปฏิบัติ.ข. มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา.ค. ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา.ง. ถูกทุกข้อ |
23. บุคคลที่มีอำนาจในการออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ คือใคร ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ.ข. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.ค. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา.ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด |
24. ข้อใดสำคัญที่สุดเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก. พัฒนาคุณภาพชีวิตบุคคลให้เหมาะสมกับวัยตามศักยภาพสอดคล้องความต้องการชุมชน.ข. คำนึงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น.ค. เหมาะสมกับความก้าวหน้าด้าน.ง. วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี |
25. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติจัดเป็น ก. กฎหมายแม่บทการจัดการศึกษา.ข. แนวทางจัดการศึกษาของรัฐ.ค. การปรับปรุงการศึกษาสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ.ง. การปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ของไทย |
26. พรบ.การศึกษาแห่งชาติ สอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด ก. แผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมแห่งชาติ.ข. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ.ค. แผนการศึกษาแห่งชาติ.ง. แผนพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของกระทรวงศึกษาธิการ |
27. บุคคลที่มีหน้าที่เข้าไปตรวจสอบการเข้าเรียนของเด็กการศึกษาภาคบังคับในสถานที่ใดๆ ก. ผู้อำนวยการสถานศึกษา.ข. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา.ค. พนักงานเจ้าหน้าที่.ง. ทั้งข้อ ก ข และ ค |
28. ข้อใดไม่ใช่หลักการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ก. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน.ข. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา.ค. การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง.ง. การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญาอารมณ์ และสังคม |
29. หากเด็กจะเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับในปีการศึกษา 2551 จะต้องเป็นเด็กที่เกิดในปี พ.ศ.ใด ก. 2541.ข. 2542.ค. 2543.ง. 2544 |
30. ต่อไปนี้ ข้อใดไม่ใช่ สถานศึกษาสำหรับปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก. โรงเรียน.ข. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก.ค. ศูนย์พัฒนาชุมชน.ง. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ สถาบันศาสนา |
31. การจัดการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น ในหลักสูตรวิธีการ การประเมินผลและจุดมุ่งหมาย ก. การศึกษาในระบบ.ข. การศึกษานอกระบบ.ค. การศึกษาตามอัธยาศัย.ง. การศึกษาเฉพาะทาง |
32. วัตถุประสงค์ของการจัดทำ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ก. ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม.ข. ปฏิรูปการศึกษาของไทย.ค. พัฒนาคนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายจิตใจ.ง. พัฒนาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ |
33. ผู้ที่มีหน้าที่เข้าไปตรวจสอบการเข้าเรียนของเด็กการศึกษาภาคบังคับในสถานที่ใดๆ ต้องดำเนินการอย่างไร ก. เข้าไปตรวจสอบระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก.ข. ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง.ค. จัดให้มีการบันทึกข้อมูลหรือบันทึกอนุญาตการตรวจสอบ.ง. ถูกทุกข้อ |
34. ข้อใดไม่ใช่หลักการพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ก. เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อปวงชน.ข. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน.ค. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา.ง. พัฒนา สาระ และกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง |
35. ต่อไปนี้ ข้อใดไม่สอดคล้องคำว่าการศึกษา ก. การถ่ายทอดความรู้.ข. การฝึกอบรม.ค. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์.ง. การสืบสานทางวัฒนธรรม |
36. ข้อใดไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ บิดามารดา ผู้ปกครอง พึงได้รับในการจัดการศึกษา ก. การสนับสนุนจากรัฐ ให้ความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู.ข. การยกเว้นเงินภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา.ค. เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของคนในการดูแล.ง. การให้การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลในการดูแล |
37. ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ก. ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม.ข. ปฏิรูปการศึกษาของไทย.ค. พัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจ.ง. พัฒนาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ |
38. การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งได้เป็น 3 ระดับยกเว้นข้อใด ก. ระดับก่อนประถมศึกษา.ข. ระดับประถมศึกษา.ค. ระดับมัธยมศึกษา.ง. ระดับก่อนอุดมศึกษา |
39. ต่อไปนี้ ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง ก. การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่าการศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา.ข. ผู้สอน หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ.ค. กระทรวง หมายความว่ากระทรวงการศึกษา.ง. ครู หมายความว่าบุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน |
40. อายุสำหรับเด็กการศึกษาภาคบังคับ ก. ย่างเข้าปีที่ 6 - ย่างเข้าปีที่ 16.ข. ย่างเข้าปีที่ 7 - ย่างเข้าปีที่ 16.ค. ย่างเข้าปีที่ 6 - ย่างเข้าปีที่ 17.ง. ย่างเข้าปีที่ 7 - ย่างเข้าปีที่ 17 |
41. หลักการจัดการศึกษาข้อใด ไม่สอดคล้องกับสาระตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ก. ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้พัฒนาตนเองได้.ข. ครูต้องมีจิตสำนึกที่จะพัฒนาเด็กอย่างเต็มความสามารถ.ค. ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด.ง. ต้องส่งเสริมผู้เรียนพัฒนาตามศักยภาพ |
42. การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามความถนัดความสนใจ ศักยภาพและความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ก. ระดับประถมศึกษา.ข. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น.ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภทสามัญศึกษา.ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภทอาชีวศึกษา |
43. การนับอายุเด็กเพื่อเข้ารับการศึกษาภาคบังคับในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้นับตามข้อใด ก. ครบเจ็ดปีในปีใดนับเด็กอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดในปีนั้น.ข. นับตามปีงบประมาณ.ค. นับตามปีปฏิทิน.ง. ข้อ ก และ ค ถูกต้อง |
44. การจัดการศึกษาระดับใดเป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพให้เป็นกำลังแรงงานที่มีฝีมือหรือการศึกษาต่อระดับในระดับอาชีพชั้นสูงต่อไป ก. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น.ข. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทสามัญศึกษา.ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทอาชีวศึกษา.ง. ระดับที่ต่ำกว่าปริญญา |
45. ต่อไปนี้นี้ ข้อใดไม่กล่าวถึงสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก. บุคคล.ข. เอกชน.ค. องค์กรปกครองท้องถิ่น.ง. ครู อาจารย์ |
46. หากผู้บริหารในฐานะที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ จะทำบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ยื่นทำบัตรต่อใคร ก. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา.ข. ผู้บริหารสถานศึกษาออกเอง.ค. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.ง. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. |
47. ข้อใดไม่ถูกต้อง ก. ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกครั้งแรกใน 5 ปี.ข. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษามีฐานะเป็นองค์กรมหาชน.ค. การประเมินผลคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษา.ง. เสนอผลประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน |
48. กรณีที่ต้องถูกระวางโทษปรับมากที่สุดได้แก่กรณีใด ก. ผู้ปกครองไม่ส่งเด็กเข้าเรียน.ข. กระทำการใดๆ ก็ตามเพื่อมิให้เด็กเข้าเรียน.ค. ไม่แจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรณีที่ไม่ใช่ผู้ปกครองและมีเด็กภาคบังคับอาศัยอยู่ด้วย.ง. ถูกระวางโทษเท่ากันคือ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท |
49. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษาตามอัธยาศัย ก. สถานศึกษา ต้องจัดการศึกษา ทั้งในระบบนอกระบบ และตามอัธยาศัย.ข. ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส.ค. จัดการเรียนรู้ได้ในทุกที่ ทุกเวลา.ง. ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ |
50. ข้อใดไม่สอดคล้องการจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการการจัดการศึกษา ก. กระจายอำนาจสู่สถานศึกษาทั้งหมด.ข. กำหนดมาตรฐานการศึกษา จัดระบบประกันคุณภาพ.ค. มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา.ง. ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา |
http://www.thaitestonline.com
|
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น